วรรณคดี แปลว่าเรื่องที่แต่งเป็นหนังสือ มีความหมายตรงกันคำว่า Literature ในภาษาอังกฤษ แต่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้คำจำกัดความของวรรณคดีว่า หนังสือที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดี ปรากฏครั้งแรกในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งวรรณคดีสโมสร เมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งวรรณคดีสโมสร กล่าวว่า
๑ . เป็นหนังสือดี กล่าวคือ เป็นเรื่องที่สมควรซึ่งสาธารณชนจะอ่านได้โดยไม่เสียประโยชน์ คือไม่เป็นเรื่องที่ชักจูงความคิดผู้อ่านไปในทางอันไม่เป็นแก่นสาร ซึ่งจะชวนให้คิดวุ่นวานทางการเมืองอันเกิดเป็นเรื่องรำคาญแก่รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ( เพราะคนรู้น้อยอาจจะไขว้าเขวได้ )
๒ . เป็นหนังสือแต่งดี ใช้วิธีเรียบเรียงอย่างใด ๆ ก็ตามแต่ต้องให้เป็นภาษาไทยอันดี ถูกต้องตามเยี่ยงที่ใช้ในโบราณกาลหรือปัจจุบันกาลก็ได้ ไม่ใช้ภาษาต่างประเทศ ( เช่น ใช้ว่า ไปจับรถ แทน ไปขึ้นรถ และ มาสาย แทน มาช้า ดังนี้เป็นตัวอย่าง )
วรรณคดี คือ ความรู้สึกนึกคิดของกวี ซึ่งถอดออกมาจากจิตใจให้ปรากฎเป็นรูปหนังสือ มีถ้อยคำเหมาะเจาะเพราะพริ้ง เร้าใจให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังเกิดความรู้สึก
วรรณคดี คือ หนังสือที่มีลักษณะเรียบเรียงถ้อยคำเกลี้ยงเกลาเพราะพริ้งมีรสปลุกมโนคติ ( imagination ) ให้เพลิดเพลิน เกิดกระทบกระเทือนอารมณ์ต่าง ๆ เป็น
ไปตามอารมณ์ของผู้ประพันธ์บทประพันธ์ที่เป็น
วรรณคดี คือ บทประพันธ์ที่มุ่งให้ความเพลิดเพลิน ให้เกิดความรู้สึกนึกคิด ( imagination ) และอารมณ์ต่าง ๆ ตามผู้เขียน นอกจากนี้บทประพันธ์ที่เป็นวรรณคดี
จะต้องมีรูปศิลปะ ( form )
วรรณคดี คือ หนังสือที่มีลักษณะเรียบเรียงถ้อยคำเกลี้ยงเกลาเพราะพริ้งมีรสปลุกมโนคติ ( imagination ) ให้เพลิดเพลิน เกิดกระทบกระเทือนอารมณ์ต่าง ๆ เป็น
ไปตามอารมณ์ของผู้ประพันธ์บทประพันธ์ที่เป็น
วรรณคดี คือ บทประพันธ์ที่มุ่งให้ความเพลิดเพลิน ให้เกิดความรู้สึกนึกคิด ( imagination ) และอารมณ์ต่าง ๆ ตามผู้เขียน นอกจากนี้บทประพันธ์ที่เป็นวรรณคดี
จะต้องมีรูปศิลปะ ( form )
เท่าที่กล่าวมาแล้วพอสรุปได้ว่าวรรณคดี คือ เรื่องที่มีลักษณะดังนี้
๑ . ใช้ถ้อยคำสำนวนโวหารไพเราะสละสลวย
๒ . ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ
๓ . ยกระดับจิตใจให้สูง
๔ . ใช้เป็นแบบแผนในการแต่งได้
๒ . ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ
๓ . ยกระดับจิตใจให้สูง
๔ . ใช้เป็นแบบแผนในการแต่งได้
ร้อยกรอง คือ บทประพันธ์ที่แต่งให้มีสัมผัสของคำเชื่อมโยงกัน โดยมีคณะของคำตามหลักที่กำหนดไว้ในฉันทลักษณ์หรือตำรากลอนต่าง ๆ เช่น มีครุ ลหุ เอก โท เป็นต้น
รูปแบบของร้อยกรองวรรณคดีที่เป็นร้อยกรอง ( กาพย์กลอนของไทย ) ได้เจริญเรื่อยมา และแบ่งตามรูปแบบคำประพันธ์ที่ใช้แต่งเรื่องนั้น ๆ ได้ดังนี้
๑ . คำหลวง เป็นเรื่องที่พระมหากษัตริย์หรือเจ้านายชั้นสูงในพระราชวงศ์ทรงแต่ง หรือ ทรงเกี่ยวข้องในการแต่ง ไม่จำกัดรูปแบบคำประพันธ์ แต่ต้องเป็นเรื่องที่
ศักดิ์สิทธิ์ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับศีลธรรมจรรยา เท่าที่ปรากฏชื่อในวรรณคดีมีอยู่ ๔ เรื่อง คือ มหาชาติคำหลวง นันโทปนันทสูตรคำหลวง พระมาลัยคำ
หลวง และพระนลคำหลวง
๒ . คำฉันท์ ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งเป็นฉันท์ชนิดต่าง ๆ มักมีกาพย์บางชนิดปนอยู่ด้วย เช่น สมุทรโฆษคำฉั นท์ สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นต้น
๓ . คำโคลง ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งเป็นโคลงคั้นหรือโคลงสี่สุภาพ เช่น โคลงนิราศนรินทร์ เป็นต้น
๔ . คำกลอน วรรณคดีที่แต่งเป็นคำกลอนชนิดต่าง ๆ ได้แก่ กลอนสุภาพ กลอนเสภา กลอนบทละคร กลอนหก เช่น พระอภัยมณี เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน เป็นต้น
๕ . คำกาพย์ ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งเป็นกาพย์ยานี กาพย์ฉบัง กาพย์สุรางคนางค์ เช่น กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา เป็นต้น
๖ . กาพย์ห่อโคลง กาพย์เห่เรือ ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งด้วยโคลงและกาพย์ เช่น กาพย์ห่อโคลงประพาศธารทองแดง กาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร เป็นต้น
๗ . ร่ายยาว ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งเป็นร่ายยาว เช่น ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก เป็นต้น
๘ . ลิลิต ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งโดยใช้โคลงและร่ายปนกัน รับสัมผัสคำแบบลิลิต เช่น ลิลิตพระลอ ลิลิตตะเลงพ่าย ลิลิตนิทราชาคริต เป็นต้น
ศักดิ์สิทธิ์ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับศีลธรรมจรรยา เท่าที่ปรากฏชื่อในวรรณคดีมีอยู่ ๔ เรื่อง คือ มหาชาติคำหลวง นันโทปนันทสูตรคำหลวง พระมาลัยคำ
หลวง และพระนลคำหลวง
๒ . คำฉันท์ ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งเป็นฉันท์ชนิดต่าง ๆ มักมีกาพย์บางชนิดปนอยู่ด้วย เช่น สมุทรโฆษคำฉั นท์ สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นต้น
๓ . คำโคลง ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งเป็นโคลงคั้นหรือโคลงสี่สุภาพ เช่น โคลงนิราศนรินทร์ เป็นต้น
๔ . คำกลอน วรรณคดีที่แต่งเป็นคำกลอนชนิดต่าง ๆ ได้แก่ กลอนสุภาพ กลอนเสภา กลอนบทละคร กลอนหก เช่น พระอภัยมณี เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน เป็นต้น
๕ . คำกาพย์ ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งเป็นกาพย์ยานี กาพย์ฉบัง กาพย์สุรางคนางค์ เช่น กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา เป็นต้น
๖ . กาพย์ห่อโคลง กาพย์เห่เรือ ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งด้วยโคลงและกาพย์ เช่น กาพย์ห่อโคลงประพาศธารทองแดง กาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร เป็นต้น
๗ . ร่ายยาว ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งเป็นร่ายยาว เช่น ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก เป็นต้น
๘ . ลิลิต ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งโดยใช้โคลงและร่ายปนกัน รับสัมผัสคำแบบลิลิต เช่น ลิลิตพระลอ ลิลิตตะเลงพ่าย ลิลิตนิทราชาคริต เป็นต้น
นอกจากแบ่งตามลักษณะคำประพันธ์แล้ว ยังแบ่งตามเนื้อเรื่อง เช่น นิราศ เพลงยาว นิทานคำกาพย์ นิทานคำกลอน คำสอน เป็นต้น
บทละคร คือ เรื่องที่แต่งขึ้นเพื่อการแสดงบนเวทีรูปแบบของบทละคร
๑ . บทละครรำ เป็นบทละครแบบเดิมของไทย ได้แก่ บทละครเรื่องอิเหนา รามเกียรติ์ สังข์ทอง เป็นต้น
๒ . บทละครแบบตะวันตก ได้แก่ บทละครพูดเรื่องหัวใจนักรบ บทละครร้องเรื่องสาวเครือฟ้า บทละครคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา เป็นต้น
๒ . บทละครแบบตะวันตก ได้แก่ บทละครพูดเรื่องหัวใจนักรบ บทละครร้องเรื่องสาวเครือฟ้า บทละครคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา เป็นต้น
การแบ่งประเภทวรรณคดีตามเกณฑ์ต่าง ๆ วรรณคดีไทยอาจแบ่งตามเกณฑ์ต่าง ๆ ได้ดังนี้
แบ่งตามความมุ่งหมาย แยกได้ ๒ ประเภท คือ
๑ . สารคดี คือ หนังสือที่มุ่งให้ความรู้แก่ผู้อ่านเป็นสำคัญแต่ในขณะเดียวกันก็ใช้กลวิธีการเขียนให้เกิดความบันเทิงเป็นผลพลอยได้ไปด้วย เช่น บทความหรือความ
เรียง หนังสือสารคดี ตำรา บันทึก จดหมายเหตุ รายงาน พงศาวดาร ตำนาน ปาฐกถา คำสอน
๒ . บันเทิงคดี คือ หนังสือที่มุ่งให้ความสนุกเพลิดเพลินแก่ผู้อ่านมากกว่าความรู้ แต่อย่างไรก็ดี บันเทิงคดีย่อมมีเนื้อหาที่เป็นสาระสำคัญแทรกอยู่ด้วยในรูปของคติ
ชีวิตและเกร็ดความรู้ เช่น เรื่องสั้น นวนิยาย บทละครพูด นิทาน นิยาย
เรียง หนังสือสารคดี ตำรา บันทึก จดหมายเหตุ รายงาน พงศาวดาร ตำนาน ปาฐกถา คำสอน
๒ . บันเทิงคดี คือ หนังสือที่มุ่งให้ความสนุกเพลิดเพลินแก่ผู้อ่านมากกว่าความรู้ แต่อย่างไรก็ดี บันเทิงคดีย่อมมีเนื้อหาที่เป็นสาระสำคัญแทรกอยู่ด้วยในรูปของคติ
ชีวิตและเกร็ดความรู้ เช่น เรื่องสั้น นวนิยาย บทละครพูด นิทาน นิยาย
แบ่งตามลักษณะที่แต่ง แยกได้ ๒ ประเภท คือ
๑ . ร้อยแก้ว อาจแต่งเป็นสารคดีหรือบันเทิงคดี โดยมีรูปแบบต่าง ๆ
๒ . ร้อยกรอง หมายถึง ความเรียงที่ใช้ภาษาพูดตามธรรมดา แต่มีรูปแบบโดยเฉพาะและมีความไพเราะเหมาะเจาะด้วยเสียงและความหมาย ร้อยกรองอาจเรียกว่า
คำประพันธ์ กาพย์กลอน หรือ กวีนิพนธ์ ก็ได้ ร้อยกรองแต่เป็นกลอน โคลง ร่ายกาพย์และฉันท์ อาจแต่งเป็นสารคดีและบันเทิงคดี ส่วนมากเป็นบันเทิง
คดี โดยอาจแบ่งรูปตามชนิดของ คำประพันธ์ หรือลักษณะของเนื้อเรื่อง
๒ . ร้อยกรอง หมายถึง ความเรียงที่ใช้ภาษาพูดตามธรรมดา แต่มีรูปแบบโดยเฉพาะและมีความไพเราะเหมาะเจาะด้วยเสียงและความหมาย ร้อยกรองอาจเรียกว่า
คำประพันธ์ กาพย์กลอน หรือ กวีนิพนธ์ ก็ได้ ร้อยกรองแต่เป็นกลอน โคลง ร่ายกาพย์และฉันท์ อาจแต่งเป็นสารคดีและบันเทิงคดี ส่วนมากเป็นบันเทิง
คดี โดยอาจแบ่งรูปตามชนิดของ คำประพันธ์ หรือลักษณะของเนื้อเรื่อง
แบ่งตามลักษณะการจดบันทึก แยกได้ ๒ ประเภท คือ
๑ . วรรณคดีลายลักษณ์อักษร ได้แก่ วรรณคดีที่บันทึกไว้เป็นหนังสืออาจเป็นตัวจารึก ตัวเขียน หรือตัวพิมพ์ก็ได้
๒ . วรรณคดีที่ไม่ได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ วรรณคดีที่บอกเล่าจดจำสืบต่อกันมา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วรรณคดีมุขปาฐะ เช่นเพลงพื้นเมือง บทเห่
กล่อม นิทานพื้นบ้าน ปริศนาคำทาย
๒ . วรรณคดีที่ไม่ได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ วรรณคดีที่บอกเล่าจดจำสืบต่อกันมา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วรรณคดีมุขปาฐะ เช่นเพลงพื้นเมือง บทเห่
กล่อม นิทานพื้นบ้าน ปริศนาคำทาย
การแบ่งประเภทวรรณคดีดังกล่าวอาจคาบเกี่ยวกันได้ สารคดีโดยทั่วไปมักแต่งเป็นร้อยแก้วแต่อาจแต่งเป็นร้อยกรองก็ได้บันเทิงคดีอาจแต่งเป็นร้อยกรองหรือ
ร้อยแก้วก็ได้
ร้อยแก้วก็ได้
วรรณคดีไทยแบ่งสมัยการแต่งได้ดังนี้
๑ . วรรณคดีสมัยสุโขทัย ( พ.ศ. ๑๘๐๐ – ๑๙๒๐ )
๒ . วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้น ( พ.ศ. ๑๘๙๓ – ๒๐๗๒ )
๓ . วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง ( ยุคทองของวรรณคดี พ.ศ. ๒๑๖๓ – ๒๒๓๑๔)
๔ . วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย ( พ.ศ. ๒๒๙๕ – ๒๓๑๐๕ )
๕ . วรรณคดีสมัยธนบุรี ( พ.ศ. ๒๓๑๐ – ๒๓๒๕๖ )
๖ . วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ ( พ.ศ. ๒๓๒๕ – ปัจจุบัน )
๒ . วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้น ( พ.ศ. ๑๘๙๓ – ๒๐๗๒ )
๓ . วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง ( ยุคทองของวรรณคดี พ.ศ. ๒๑๖๓ – ๒๒๓๑๔)
๔ . วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย ( พ.ศ. ๒๒๙๕ – ๒๓๑๐๕ )
๕ . วรรณคดีสมัยธนบุรี ( พ.ศ. ๒๓๑๐ – ๒๓๒๕๖ )
๖ . วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ ( พ.ศ. ๒๓๒๕ – ปัจจุบัน )
เนื่องจากการแต่งวรรณคดี มักจะมีส่วนสัมพันธ์กัน ประวัติศาสตร์และสภาพสังคมในยุคสมัยนั้น ๆ เพราะฉะนั้นการอ่านวรรณคดีให้ได้คุณค่าอย่างแท้จริง จำเป็นจะต้องเรียนประวัติวรรณคดีประกอบด้วย ซึ่งต้องพิจารณาถึงประเด็นสำคัญของวรรณคดี ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑ . ผู้แต่ง รวมถึงชีวประวัติและผลงานสำคัญ
๒ . ที่มาของเรื่อง ได้แก่ เรื่องที่เป็นต้นเค้า อาจจะได้รับอิทธิพลภายในประเทศ หรือที่ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ
๓ . ความมุ่งหมายที่แต่ง ได้แก่ ความบันดาลใจหรือความมุ่งหมายของผู้แต่งในการแต่งวรรณคดีนั้น ๆ
๔ . วิวัฒนาการและความสัมพันธ์ต่อเนื่องระหว่างวรรณคดีแต่ละสมัย
๕ . สภาพสังคมในสมัยที่แต่ง ซึ่งได้แก่ วัฒนธรรม สภาพสังคม และเหตุการณ์ของบ้านเมืองในระยะเวลาที่แต่ง
๖ . อิทธิพลที่วรรณคดีมีต่อสังคมทั้งในสมัยที่แต่งและในสมัยต่อมา
๒ . ที่มาของเรื่อง ได้แก่ เรื่องที่เป็นต้นเค้า อาจจะได้รับอิทธิพลภายในประเทศ หรือที่ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ
๓ . ความมุ่งหมายที่แต่ง ได้แก่ ความบันดาลใจหรือความมุ่งหมายของผู้แต่งในการแต่งวรรณคดีนั้น ๆ
๔ . วิวัฒนาการและความสัมพันธ์ต่อเนื่องระหว่างวรรณคดีแต่ละสมัย
๕ . สภาพสังคมในสมัยที่แต่ง ซึ่งได้แก่ วัฒนธรรม สภาพสังคม และเหตุการณ์ของบ้านเมืองในระยะเวลาที่แต่ง
๖ . อิทธิพลที่วรรณคดีมีต่อสังคมทั้งในสมัยที่แต่งและในสมัยต่อมา
ดร. สิทธา พินิจภูวดล กล่าวไว้ในหนังสือความรู้ทั่วไปทางวรรณกรรมไทย ถึงเรื่องการศึกษาวรรณคดีในแนวประวัติ มีดังนี้
๑ . เพื่อให้ทราบต้นกำเนิดของวรรณคดีว่า วรรณคดีแต่ละเล่มเกิดขึ้นได้อย่างไร เกิดในสมัยใด และวรรณคดีอื่น ๆ ในสมัยนั้นมีลักษณะที่เกิดขึ้นมาอย่างเดียวกัน
หรือไม่
๒ .เพื่อให้ทราบวิวัฒนาการของสติปัญญาของชาติ พลังปัญญาของบุคคลในชาติ จะแสดงออกมาในรูปของศิลปกรรมประเภทต่าง ๆ ซึ่งรวมทั้งวรรณกรรมด้วย
คนจะแสดงพลังปัญญาในการนำเรื่องราวทางการเมือง การทหาร การรบพุ่งปราบปรามศัตรู และอื่น ๆ มาเรียบเรียงร้อยกรองเป็นบทเพลงหรือบทประพันธ์
แทนการเล่าเรื่องอย่างธรรมดา ๆ คนที่มีความสามารถจะหาทางออกในแนวแปลกงดงามและมีผลดี วรรณคดีที่มีแนวต่าง ๆ กันเป็นผลของการแสดงพลังปัญญา
ของบุคคลในชาติ
๓ . เพื่อให้รู้จักเหตุการณ์ที่มีอิทธิพลต่อวรรณคดี วรรณคดีเป็นผลงานกวี กวีในแต่ละยุคแต่ละสมัยย่อมมีชีวิตความเป็นอยู่ต่างกัน มีแนวคิดต่างกัน มีเหตุการณ์ในยุค
สมัยของตนแตกต่างกันไปด้วย เช่น คนไทยในยุคสุโขทัยระยะหลังได้รับความร่วมเย็นเป็นสุขอย่างเต็มที่ เอาใจใส่ในศาสนาและวรรณกรรม ศิลาจารึกในยุคนั้น
จึงมีเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนามาก เหตุการณ์ต่าง ๆ ในบ้านเมืองหรือ ในสังคมย่อมสัมพันธ์กับเรื่องราวในวรรณคดี การศึกษาประวัติวรรณคดี จะทำให้เข้าใจ ตัว
วรรณคดี ชัดเจนยิ่งขึ้น และเข้าใจกวีว่าเหตุใดจึงแต่งวรรณคดีชนิดนั้น เช่น เหตุใดวรรณกรรมไทยในยุคปลายสุโขทัย จึงเป็นแต่ประเภทวรรณกรรมศาสนาเท่า
นั้น เป็นต้น
๔ . เพื่อให้รู้จักผู้แต่งวรรณคดี ว่ากวีคือใคร มีความรู้สึกนึกคิดอย่างไร อะไรเป็นเหตุทำให้เขาแต่งเรื่องเช่นนั้น เช่น เราต้องการทราบประวัติชีวิตของสุนทรภู่
พยายามสืบค้นว่าสุนทรภู่มีบิดามารดา ชื่ออะไร อาชีพอะไร เกิดที่เมืองไหน ครอบครัวของสุนทรภู่มีใครบ้าง อะไรทำให้สุนทรภู่เขียนลงไปว่า อนิจจาตัวเราก็เท่า
นี้ ไม่มีที่พสุธาจะอาศัย…… สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ทำให้ผู้ศึกษาวรรณคดีรู้จักวรรณคดีลึกซึ้งขึ้นทั้งสิ้น ในบางยุคสมัยผู้แต่งวรรณคดีจะเป็นคนในราชสำนักเป็นส่วนมาก
ดังที่ปรากฏอยู่ในยุคสุโขทัยเรื่อยลงมาจนถึงอยุธยา และต่อมาจนถึงยุคต้นรัตนโกสินทร์ ประวัติวรรณคดีจะทำให้เราเข้าใจแนวสร้างวรรณคดีของเรา
วิวัฒนาการของวรรณคดีไทย
หรือไม่
๒ .เพื่อให้ทราบวิวัฒนาการของสติปัญญาของชาติ พลังปัญญาของบุคคลในชาติ จะแสดงออกมาในรูปของศิลปกรรมประเภทต่าง ๆ ซึ่งรวมทั้งวรรณกรรมด้วย
คนจะแสดงพลังปัญญาในการนำเรื่องราวทางการเมือง การทหาร การรบพุ่งปราบปรามศัตรู และอื่น ๆ มาเรียบเรียงร้อยกรองเป็นบทเพลงหรือบทประพันธ์
แทนการเล่าเรื่องอย่างธรรมดา ๆ คนที่มีความสามารถจะหาทางออกในแนวแปลกงดงามและมีผลดี วรรณคดีที่มีแนวต่าง ๆ กันเป็นผลของการแสดงพลังปัญญา
ของบุคคลในชาติ
๓ . เพื่อให้รู้จักเหตุการณ์ที่มีอิทธิพลต่อวรรณคดี วรรณคดีเป็นผลงานกวี กวีในแต่ละยุคแต่ละสมัยย่อมมีชีวิตความเป็นอยู่ต่างกัน มีแนวคิดต่างกัน มีเหตุการณ์ในยุค
สมัยของตนแตกต่างกันไปด้วย เช่น คนไทยในยุคสุโขทัยระยะหลังได้รับความร่วมเย็นเป็นสุขอย่างเต็มที่ เอาใจใส่ในศาสนาและวรรณกรรม ศิลาจารึกในยุคนั้น
จึงมีเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนามาก เหตุการณ์ต่าง ๆ ในบ้านเมืองหรือ ในสังคมย่อมสัมพันธ์กับเรื่องราวในวรรณคดี การศึกษาประวัติวรรณคดี จะทำให้เข้าใจ ตัว
วรรณคดี ชัดเจนยิ่งขึ้น และเข้าใจกวีว่าเหตุใดจึงแต่งวรรณคดีชนิดนั้น เช่น เหตุใดวรรณกรรมไทยในยุคปลายสุโขทัย จึงเป็นแต่ประเภทวรรณกรรมศาสนาเท่า
นั้น เป็นต้น
๔ . เพื่อให้รู้จักผู้แต่งวรรณคดี ว่ากวีคือใคร มีความรู้สึกนึกคิดอย่างไร อะไรเป็นเหตุทำให้เขาแต่งเรื่องเช่นนั้น เช่น เราต้องการทราบประวัติชีวิตของสุนทรภู่
พยายามสืบค้นว่าสุนทรภู่มีบิดามารดา ชื่ออะไร อาชีพอะไร เกิดที่เมืองไหน ครอบครัวของสุนทรภู่มีใครบ้าง อะไรทำให้สุนทรภู่เขียนลงไปว่า อนิจจาตัวเราก็เท่า
นี้ ไม่มีที่พสุธาจะอาศัย…… สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ทำให้ผู้ศึกษาวรรณคดีรู้จักวรรณคดีลึกซึ้งขึ้นทั้งสิ้น ในบางยุคสมัยผู้แต่งวรรณคดีจะเป็นคนในราชสำนักเป็นส่วนมาก
ดังที่ปรากฏอยู่ในยุคสุโขทัยเรื่อยลงมาจนถึงอยุธยา และต่อมาจนถึงยุคต้นรัตนโกสินทร์ ประวัติวรรณคดีจะทำให้เราเข้าใจแนวสร้างวรรณคดีของเรา
วิวัฒนาการของวรรณคดีไทย
นับแต่สมัยสุโขทัยมาจนถึงราชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วรรณคดีไทยมีลักษณะเป็นแบบฉบับที่ยึดถือสืบต่อกันมา ในรัชกาลที่ ๔ คนไทยเริ่มมีความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตก วิถีชีวิตจึงเปลี่ยนไปรวมถึงลักษณะของวรรณคดีของคนไทย เริ่มค้นเปลี่ยนแลงและทวีมากขึ้นเป็นลำดับตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ จนถึงปัจจุบัน
วรรณคดีสมัยสุโขทัย ( ประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐ – พ.ศ. ๑๙๒๐ )
ชาติไทยเริ่มมีประวัติเป็นหลักฐานชัดเจน เมื่อไทยได้ตั้งอาณาจักรขึ้น ณ ดินแดนสุวรรณภูมิและมีนครหลวงอยู่ที่เมืองสุโขทัย หลักฐานการตั้งอาณาจักรนั้นได้ปรากฏในศิลาจารึกวัดมหาธาตุ และศิลาจารึกวัดศรีชุมหลักที่ ๒ ว่า มีพ่อเมืองไทย ๒ คน ชื่อพ่อขันบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง กับ พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด บุตรของพ่อขุนศรีนาวนำถมเจ้าเมืองสุโขทัย ซึ่งขณะนั้นเป็นประเทศราชของขอม พ่อเมืองทั้งสองนี้ได้รวมกำลังกันยกทัพมาตีสุโขทัย ซึ่งมีผู้ปกครองเมืองเรียกว่า ขอมสมาดโขลญลำพง รักษาอยู่ เมื่อตีได้เมืองสุโขทัยแล้ว พ่อขุนผาเมืองได้อภิเษกให้พ่อขุนบางกลางหาวเป็นเจ้าเมืองครองกรุงสุโขทัย มีนามตามอย่างที่ขอมเคยตั้งนามเจ้าเมืองสุโขทัยแต่ก่อนว่า ศรีอินทรปติทราทิตย์ แต่เรียนในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงว่า ขุนศรีอินทราทิตย์ นับว่ากรุงสุโขทัยเป็นศูนย์กลางการปกครองและมีเอกราชโดยสมบูรณ์เมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มีมเหสีชื่อนางเสือง และมีพระราชโอรสด้วยกัน ๓ พระองค์ องค์ใหญ่สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังเยาว์ องค์กลางมีนามว่า บานเมือง และองค์เล็กมีนามว่า พระรามคำแหง เมือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เสด็จสวรรคตแล้ว พ่อขุนบานเมืองได้ขึ้นครองราชย์ต่อมา พ่อขุนบานเมืองได้ครองราชย์อยู่จนถึงราว พ.ศ. ๑๘๒๒ ก็สวรรคต พระรามคำแหงพระอนุชาจึงได้รับราชสมบัติขึ้นครองกรุงสุโขทัยสืบต่อมา
วรรณคดีสมัยสุโขทัย มีนิทานพื้นเมืองหรือเพลงพื้นเมือง ที่ถ่ายทอดกันมาโดยความทรงจำ เรียกกันว่า วรรณคดีมุขปาฐะ คือ วรรณคดีที่ใช้การเล่าถ่ายทอดกันมาไม่มีการจดบันทึก เป็นลายลักษณ์อักษร ส่วนที่นับได้ว่าเขียนเป็นตัวอักษรก็คือศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง วรรณคดีสำคัญที่สันนิษฐานว่าเกิดในสมัยสุโขทัยมี ๔ เรื่อง คือ
๑ . ศิลาจารึกหลักที่ ๑ จารึกสุโขมัย ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
๒ . ไตรภูมิพระร่วง ( ไตรภูมิกถา หรือ เตภูมิกถา )
๓ . สุภาษิตพระร่วง
๔ . คำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ( นางนพมาศ )
๒ . ไตรภูมิพระร่วง ( ไตรภูมิกถา หรือ เตภูมิกถา )
๓ . สุภาษิตพระร่วง
๔ . คำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ( นางนพมาศ )
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้น ( พ.ศ. ๑๘๙๓ – ๒๐๗๒ )
ลักษณะวรรณคดีวรรณคดีสำคัญในสมัยอยุธยาตอนต้นส่วนใหญ่มีเรื่องเกี่ยวกับศาสนา พิธีกรรมและพระมหากษัตริย์จึงมีเนื้อหาคล้ายวรรณคดีสมัยสุโขทัย ส่วนลักษณะการแต่งต่างกับวรรณคดีสุโขทัยเป็นอย่างมาก วรรณคดีในสมัยนี้แต่งด้วยร้อยกรองทั้งสิ้น คำประพันธ์ที่ใช้มีเกือบทุกชนิด คือ โคลง ร่าย กาพย์ และฉันท์ ขาดแต่กลอน ส่วนใหญ่แต่งเป็นลิลิต คำบาลี สันสกฤต และเขมรเข้ามาปะปนในคำไทยมากขึ้นวรรณคดีสำคัญในสมัยนี้ได้แก่
ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์และความเคลื่อนไหวทางวรรณคดี
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ( พระเจ้าอู่ทอง ) ทรงตั้งกรุงศรีอยุธยา ๑๘๙๓ แต่งลิลิตโองการแช่งน้ำ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงตีได้เมืองเชียงชื่น ( เชลียง ) ๒๐๑๗ แต่งลิลิตยวนพ่าย ( สันนิษฐาน )
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดให้ฉลองวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ( ที่พิษณุโลก ) ๒๐๒๕ แต่งมหาชาติคำหลวง แต่งลิลิตพระลอ ( สันนิษฐาน )
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ ซึ่งเป็นพระราชโอรสขึ้นครองราชย์ ๒๐๓๑ แต่งโคลงทวาทศมาส ( สันนิษฐาน )
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ซึ่งเป็นพระราชอนุชาขึ้นครองราชย์ ๒๐๓๔ แต่งลิลิตยวนพ่าย ( สันนิษฐาน ) แต่งโคลงกำสรวล ( สันนิษฐาน ) แต่งลิลิตพระลอ
( สันนิษฐาน ) ๒๐๖๐ แต่งโคลงหริภุญชัย ( สันนิษฐาน ) ๒๐๖๑ แต่งตำราพิชัยสงคราม
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงตีได้เมืองเชียงชื่น ( เชลียง ) ๒๐๑๗ แต่งลิลิตยวนพ่าย ( สันนิษฐาน )
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดให้ฉลองวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ( ที่พิษณุโลก ) ๒๐๒๕ แต่งมหาชาติคำหลวง แต่งลิลิตพระลอ ( สันนิษฐาน )
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ ซึ่งเป็นพระราชโอรสขึ้นครองราชย์ ๒๐๓๑ แต่งโคลงทวาทศมาส ( สันนิษฐาน )
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ซึ่งเป็นพระราชอนุชาขึ้นครองราชย์ ๒๐๓๔ แต่งลิลิตยวนพ่าย ( สันนิษฐาน ) แต่งโคลงกำสรวล ( สันนิษฐาน ) แต่งลิลิตพระลอ
( สันนิษฐาน ) ๒๐๖๐ แต่งโคลงหริภุญชัย ( สันนิษฐาน ) ๒๐๖๑ แต่งตำราพิชัยสงคราม
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง ( พ.ศ. ๒๑๖๓ – พ.ศ. ๒๒๓๑ )
กวีและวรรณคดีสำคัญสมัยอยุธยาตอนกลางสมัยนี้ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของวรรณคดี ซึ่งมีกวีและวรรณคดีเกิดขึ้นมากมาย คือ
๑ . สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ( พ.ศ. ๒๑๖๓ – ๒๑๗๑ ) หนังสือที่ทรงพระราชนิพนธ์ คือกาพย์มหาชาติ
๒ . สมเด็จพระรานายณ์มหาราช ( พ.ศ.๒๑๙๙ – ๒๒๓๑ ) หนังสือที่ทรงพระราชนิพนธ์ คือ
๒.๑ . สมุทรโฆษคำฉันท์ ตอนกลาง
๒.๒ . โคลงสุภาษิตพาลีสอนน้อง ทศรสอนพระราม ราชสวัสดิ์
๒.๓ . คำฉันท์กล่อมช้าง เข้าใจกันว่าสมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงพระราชนิพนธ์
๒.๔ . เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา แต่บางคนกล่าวว่าขุนหลวงสรศักดิ์ ( พระศรีสรรเพชญ์ที่ ๘ ) ทรงพระราชนิพธ์
๓ . พระมหาราชครู หนังสือที่แต่ง คือ
๓.๑ . สมุทรโฆษคำฉันท์ ตอนต้น
๓.๒ . เสือโคคำฉันท์
๔ . พระโหราธิบดี หนังสือที่แต่ง คือ
๔.๑ . จินดามณี
๔.๒ . พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ ฯ
๕ . พระศรีมโหสถ หนังสือที่แต่ง คือ
๕.๑ . โคลงอักษรสามหมู่
๕.๒ . โคลงเฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์มหาราช
๕.๓ . กาพย์ห่อโคลง
๖ . ศรีปราชญ์ หนังสือที่แต่ง คือ
๖.๑ . อนิรุทธคำฉันท์
๖.๒ . โคลงกำสรวล
๖.๓ . โคลงเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ
๗ . ขุนเทพกวี หนังสือที่แต่ง คือคำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง
๘. หนังสือที่ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง คือ
๘.๑ . ลิลิตพระลอ
๘.๒ . โคลงนิราศหริภุญชัย
๒ . สมเด็จพระรานายณ์มหาราช ( พ.ศ.๒๑๙๙ – ๒๒๓๑ ) หนังสือที่ทรงพระราชนิพนธ์ คือ
๒.๑ . สมุทรโฆษคำฉันท์ ตอนกลาง
๒.๒ . โคลงสุภาษิตพาลีสอนน้อง ทศรสอนพระราม ราชสวัสดิ์
๒.๓ . คำฉันท์กล่อมช้าง เข้าใจกันว่าสมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงพระราชนิพนธ์
๒.๔ . เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา แต่บางคนกล่าวว่าขุนหลวงสรศักดิ์ ( พระศรีสรรเพชญ์ที่ ๘ ) ทรงพระราชนิพธ์
๓ . พระมหาราชครู หนังสือที่แต่ง คือ
๓.๑ . สมุทรโฆษคำฉันท์ ตอนต้น
๓.๒ . เสือโคคำฉันท์
๔ . พระโหราธิบดี หนังสือที่แต่ง คือ
๔.๑ . จินดามณี
๔.๒ . พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ ฯ
๕ . พระศรีมโหสถ หนังสือที่แต่ง คือ
๕.๑ . โคลงอักษรสามหมู่
๕.๒ . โคลงเฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์มหาราช
๕.๓ . กาพย์ห่อโคลง
๖ . ศรีปราชญ์ หนังสือที่แต่ง คือ
๖.๑ . อนิรุทธคำฉันท์
๖.๒ . โคลงกำสรวล
๖.๓ . โคลงเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ
๗ . ขุนเทพกวี หนังสือที่แต่ง คือคำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง
๘. หนังสือที่ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง คือ
๘.๑ . ลิลิตพระลอ
๘.๒ . โคลงนิราศหริภุญชัย
ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ความเคลื่อนไหวทางวรรณคดี
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงพระราชนิพนธ์กาพย์มหาชาติ ( พ.ศ. ๒๑๗๐ )
สมเด็จพระเจ้าปราสาททองขึ้นครองราชย์ พระเจ้าลูกยาเธอฝ่ายในสิ้นพระชนม์ พบเนื้อในพระศพเผาไม่ไหม้ เชื่อกันว่า ต้อนคุณมีการทำลายตำราไสยศาสตร์
เพราะเกรงต้องโทษ ( พ.ศ. ๒๑๗๓ ) วรรณคดีสำคัญ ๆ อาจถูกทำลายไปพร้อมกับตำราไสยศาสตร์ สมเด็จพระเจ้าปราสาททองเสด็จสวรรคต ๒๑๙๘
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชขึ้นครองราชย์ ๒๑๙๙ พระมหาราชครูแต่งเสือโคคำฉันท์
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีพระชนมายุ ครบเบญจเพส ๒๑๙๙ พระมหาราชครูแต่งสมุทรโฆษ คำฉันท์ (ตอนต้น)
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระราชนิพนธ์ สมุทรโฆษคำฉั นท์ ต่อจากพระมหาราชครู
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระราชนิพนธ์ โคลงพาลีสอนน้อง โคลงทศรถสอนพระราม โคลงราชสวัสดิ์
พุทธศักราช ๒๒๐๐ ภิกษุชาวเชียงใหม่แต่งปัญญาสชาดก
พุทธศักราช ๒๒๐๑ พระศรีมโหสถแต่งโคลงนิราศนครสวรรค์
สมเด็จพระนารายมหาราชเสด็จประพาส เมืองนครสวรรค์ทางชลมารค ( พ.ศ. ๒๒๐๑ ) ได้ช้างเผือกมาจากเมืองนครสวรรค์พระราชทานนามว่า เจ้าพระยาบรม
คเชนทรฉันทันต์ ๒๒๐๓ ขุนเทพกวีแต่งฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง ( สันนิษฐาน )
พระศรีมหโหสถแต่งโคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
พระโหราธิบดีแต่งจินดามณี
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้รวบรวมจดหมายเหตุต่าง ๆ รวมถึงพระราชพงศาวดารของพระโหราธิบดี
พุทธศักราช ๒๒๒๓ พระโหราธิบดีแต่งพระราชพงศาวดาร กรุงศรีอยุธยา
ศรีปราชญ์แต่งอนุรุทธ์คำฉันท์ และโคลงเบ็ดเตล็ด
พระศรีโหสถแต่งกาพย์ห่อโคลงและโคลงอักษรสาม
สมเด็จพระเจ้าปราสาททองขึ้นครองราชย์ พระเจ้าลูกยาเธอฝ่ายในสิ้นพระชนม์ พบเนื้อในพระศพเผาไม่ไหม้ เชื่อกันว่า ต้อนคุณมีการทำลายตำราไสยศาสตร์
เพราะเกรงต้องโทษ ( พ.ศ. ๒๑๗๓ ) วรรณคดีสำคัญ ๆ อาจถูกทำลายไปพร้อมกับตำราไสยศาสตร์ สมเด็จพระเจ้าปราสาททองเสด็จสวรรคต ๒๑๙๘
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชขึ้นครองราชย์ ๒๑๙๙ พระมหาราชครูแต่งเสือโคคำฉันท์
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีพระชนมายุ ครบเบญจเพส ๒๑๙๙ พระมหาราชครูแต่งสมุทรโฆษ คำฉันท์ (ตอนต้น)
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระราชนิพนธ์ สมุทรโฆษคำฉั นท์ ต่อจากพระมหาราชครู
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระราชนิพนธ์ โคลงพาลีสอนน้อง โคลงทศรถสอนพระราม โคลงราชสวัสดิ์
พุทธศักราช ๒๒๐๐ ภิกษุชาวเชียงใหม่แต่งปัญญาสชาดก
พุทธศักราช ๒๒๐๑ พระศรีมโหสถแต่งโคลงนิราศนครสวรรค์
สมเด็จพระนารายมหาราชเสด็จประพาส เมืองนครสวรรค์ทางชลมารค ( พ.ศ. ๒๒๐๑ ) ได้ช้างเผือกมาจากเมืองนครสวรรค์พระราชทานนามว่า เจ้าพระยาบรม
คเชนทรฉันทันต์ ๒๒๐๓ ขุนเทพกวีแต่งฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง ( สันนิษฐาน )
พระศรีมหโหสถแต่งโคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
พระโหราธิบดีแต่งจินดามณี
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้รวบรวมจดหมายเหตุต่าง ๆ รวมถึงพระราชพงศาวดารของพระโหราธิบดี
พุทธศักราช ๒๒๒๓ พระโหราธิบดีแต่งพระราชพงศาวดาร กรุงศรีอยุธยา
ศรีปราชญ์แต่งอนุรุทธ์คำฉันท์ และโคลงเบ็ดเตล็ด
พระศรีโหสถแต่งกาพย์ห่อโคลงและโคลงอักษรสาม
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย ( พ.ศ. ๒๒๗๕ – พ.ศ. ๒๓๑๐ )
กวีและวรรณคดีสำคัญสมัยอยุธยาตอนปลาย
๑ . พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ งานที่ทรงพระราชนิพนธ์ คือโคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์
๒ . เจ้าฟ้าอภัย งานที่ทรงนิพนธ์ คือโคลงนิราศ
๓ . เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร งานที่ทรงนิพนธ์ คือ
๓.๑ นันโทปนันทสูตรคำหลวง
๓.๒ พระมาลัยคำหลวง
๓.๓ กาพย์เห่เรือ
๓.๔ กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
๓.๕ กาพย์ห่อโคลงนิราศ
๓.๖ บทเห่เรื่องกากี เห่สังวาส เห่ครวญ และเพลงยาว
๔ . เจ้าฟ้ากุณฑล งานที่ทรงนิพนธ์ คือดาหลัง ( อิเหนาใหญ่ )
๕ . เจ้าฟ้ามงกุฎ งานที่ทรงนิพนธ์ คืออิเหนา ( อิเหนาเล็ก )
๖ . พระมหานาควัดท่าทราย งานที่แต่ง คือ
๖.๑ ปุณโณวาทคำฉันท์
๖.๒ โคลงนิราศพระบาท
๗ . หลวงศรีปรีชา ( เซ่ง ) งานที่แต่ง คือ กลบทสิริวิบุลกิติ
๒ . เจ้าฟ้าอภัย งานที่ทรงนิพนธ์ คือโคลงนิราศ
๓ . เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร งานที่ทรงนิพนธ์ คือ
๓.๑ นันโทปนันทสูตรคำหลวง
๓.๒ พระมาลัยคำหลวง
๓.๓ กาพย์เห่เรือ
๓.๔ กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
๓.๕ กาพย์ห่อโคลงนิราศ
๓.๖ บทเห่เรื่องกากี เห่สังวาส เห่ครวญ และเพลงยาว
๔ . เจ้าฟ้ากุณฑล งานที่ทรงนิพนธ์ คือดาหลัง ( อิเหนาใหญ่ )
๕ . เจ้าฟ้ามงกุฎ งานที่ทรงนิพนธ์ คืออิเหนา ( อิเหนาเล็ก )
๖ . พระมหานาควัดท่าทราย งานที่แต่ง คือ
๖.๑ ปุณโณวาทคำฉันท์
๖.๒ โคลงนิราศพระบาท
๗ . หลวงศรีปรีชา ( เซ่ง ) งานที่แต่ง คือ กลบทสิริวิบุลกิติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น